วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565

เเนวทางในการเลี้ยงบุตรตามหลักการอิสลาม

 

 

130 แนวคิดในการอบรมบุตรหลาน

بسم الله الرحمن الرحيم

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงกรุณาผู้ทรงปราณียิ่งเสมอ

الحمد لله وحده، والصلاة والسلام على من لا نبي بعده، أما بعد:

 

มวลการสรรเสริญนั้นเป็นของอัลลอฮ์เพียงผู้เดียว ขอศอลาวาตและสลามจงมีแด่(นบีมูฮำหมัด)ผู้ซึ่งไม่มีนบีใดๆอีกหลังจากท่าน

 

فإن تربية الأطفال فن ومهارة لا يتقنها إلا القليل من الناس، وقد كُتب في ذلك عشرات الكتب ما بين مطوَّل ومختصر، وقد رأينا أن نذكر خلاصة بعض هذه الكتب، ونرتبها في جملة من الأفكار النافعة التي لا يستغنى عنها الآباء والمربون في تربية صغارهم تربية سليمة.

แท้จริงการอบรมบุตรหลานนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีผู้คนจำนวนน้อยที่เชี่ยวชาญมัน และมีตำรับตำราจำนวนหลายสิบเล่มทั้งที่บรรยายอย่างยืดยาวและสั้นๆคราวๆที่เขียนเกี่ยวกับประเด็นนี้ เราใคร่ต้องการที่จะสรุปเนื้อหาของหนังสือเหล่านี้บางเล่มและเรียบเรียงแนวความคิดต่างๆที่มีประโยชน์ที่บรรดาพ่อแม่และผู้ปกครองจำเป็นต้องเรียนรู้ในการอบรบบุตรหลานของพวกเขาอย่างถูกต้อง

 

العقيدة

ว่าด้วยเรื่องของหลักอะกีดะห์

 

1- علم ابنك كلمة التوحيد وما تتضمنه من نفي وإثبات؛ «لا إله» نفيٌ لألوهية غير الله، «إلا الله» إثباتها لله وحده.

1.จงสอนลูกของท่านเกี่ยวกับกะลีมะห์เตาฮีดและเนื้อหาที่มีอยู่กะลิมะห์ดังกล่าวทั้งเรื่องของการปฏิเสธและการยืนยัน (( ลาอิลาฮ้า )) คือการปฏิเสธความเป็นเจ้าของสรรพสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ ((อิลลัลลอฮ์))คือการยืนยันว่าความเป็นเจ้านั้นสำหรับอัลลอฮ์แต่เพียงผู้เดียว

 

2- عرِّفه لماذا خلقنا ﴿وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنْسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ﴾، مع إرشاده إلى المعنى الواسع للعبادة.

 

2. จงแนะนำให้ลูกๆของท่านรู้ว่าทำไมมนุษย์เราถูกสร้างมาดังโองการของอัลลอฮ์ที่ว่า - (( และข้าหาได้สร้างญินน์และมนุษย์มาเว้นแต่เพื่อให้พวกเขานั้นเคารพสักการะข้า  ))พร้อมกับชี้แนะลูกๆให้รู้ถึงความหมายที่ครอบคลุมของคำว่าอิบาดะห์ (การเคารพสักการะ)

 

3- لا تكثر من تخويفه بالنار والعذاب وغضب الله وعقابه؛ حتى لا يرتبط ذكر الرب عز وجل في ذهنه بهذه الصور المرعبة.

3.พึงอย่าสอนให้ลูกของท่านกลัวนรก การลงโทษ ความโกรธกริ้ว และการลงทัณฑ์ของอัลลอฮ์มากเกินไปเพื่อว่าการรำลึกถึงพระองค์พระผู้อภิบาลนั้นจะไม่ถูกผูกโยงกับความนึกคิดที่น่าหวาดกลัวอย่างเดียว

 

4- اجعله يحب الله أكثر؛ لأنه هو الذي خلقنا ورزقنا وأطعمنا وسقانا وكسانا وجعلنا مسلمين.

 

4. จงปลูกฝังให้ลูกๆของท่านรักอัลลอฮ์มากที่สุดเพราะพระองค์คือผู้ทรงสร้างพวกเรา ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเรา  ทรงให้พวกเราได้กิน ได้ดื่ม ทรงประทานเสื้อผ้าให้พวกเราได้สวมใส่และทรงทำให้พวกเราได้เป็นมุสลิม

 

5- حذِّره من فعل الأخطاء في خلوته؛ لأن الله يراه في كل حال.

5. จงย้ำเตือนลูกๆให้ห่างไกลจากการทำความผิดต่างๆในยามที่อยู่ตามลำพัง เพราะแท้จริงอัลลอฮ์ทรงเห็นเราในทุกๆสถานการณ์

 

6- أكثر من العبارات التي فيها ذكر الله؛ مثل «بسم الله» عند الطعام والشراب والدخول والخروج، و«الحمد لله» عند الانتهاء من الطعام، و«سبحان الله» عند التعجب، وغير ذلك من العبارات.

6. จงหมั่นกล่าวคำพูดที่มีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ให้มากๆ เช่น การกล่าว บิสมิลลาฮ์ ในตอนทานอาหาร ดื่มน้ำ การเข้าและการออกจากบ้าน การกล่าว อัลฮัมดุลิลลาฮ์ หลังทานอาหารเสร็จ การกล่าว ซุบฮานัลลอฮ์ ในตอนที่รู้สึกชื่นชมบางสิ่งบางอย่างและคำกล่าวซิกิรอื่นๆอีก

 

7- حبب ابنك في شخصية الرسول الكريم بتعليمه شيئًا من صفاته الطيبة، وقراءة شيء من قصص السيرة النبوية أمامه، والصلاة عليه كلما ذكر.

 

7.จงปลูกฝังให้ลูกๆของท่านมีความรักในบุคลิกภาพของท่านนบี (,) ด้วยการสอนคุณลักษณะอันประเสริฐของท่านแก่พวกเขา จงอ่านชีวประวัติบางช่วงบางตอนของท่านนบี (.)ต่อหน้าพวกเขาและจงกล่าวซอลาวาตให้แก่ท่านนบีทุกครั้งที่มีการเอ่ยชื่อของท่าน

 

8- رسِّخ في ذهنه عقيدة القضاء والقدر؛ فما شاء الله كان، وما لم يشأ لم يكن.

 

8.จงปลูกฝังหลักความเชื่อมั่น (อะกีดะห์)เกี่ยวกับกอดอกอดัร (กำหนดการทั้งดีและชั่วนั้นมาจากอัลลอฮ์ทั้งสิ้น) ในสำนึกของลูกๆ  สิ่งใดก็ตามที่อัลลอฮ์ทรงพระประสงค์สิ่งนั้นย่อมเกิดขึ้น และสิ่งใดที่พระองค์ไม่ทรงพระประสงค์สิ่งนั้นก็ย่อมจะไม่เกิดขึ้น

 

9- عرِّف ابنك أركان الإيمان الستة.

 

9. จงสอนลูกๆของท่านให้รู้จักรูกุ่นอีหม่าน (หลักศรัทธา)ทั้งหกประการ

 

10- اطرح عليه بعض الأسئلة المتعلقة بالعقيدة؛ مثل: مَن ربك؟ ما دينك؟ مَن نبيك ؟  لماذا خُلقنا؟ مَن الذي يرزقنا ويطعمنا ويسقينا ويشفينا؟ ما أقسام التوحيد؟ ما هو الشرك والكفر والنفاق؟ ما عاقبة كل من المشرك والكافر والمنافق؟ وغير ذلك.

10.จงถามคำถามลูกๆของท่านเกี่ยวกับเรื่องอะกีดะห์ เช่น ใครคือพระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา? อะไรคือศาสนาของพวกเาอ ? ใครคือศาสนทูตของพวกเรา? ทำไมพวกเราถึงถูกสร้างขึ้นมา ? ใครคือผู้ที่ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเรา ใครคือผู้ให้อาหาร เครื่องดื่ม และรักษาพวกเราให้หายป่วยไข้ ? อะไรคือประเภทของหลักเตาฮีด? อะไรคือชิริก(การตั้งภาคี) กุโฟร (การปฏิเสธ) และนิฟาก (การกลับกลอก) ? และอื่นๆ

 

 

 

 

 

 

 

العبادة

ว่าด้วยเรื่องของอิบาดัต (ศาสนกิจ)

 

11- علم ابنك أركان الإسلام الخمسة.

 

11. จงสอนลูกๆของท่านเกี่ยวกับรูกุ่นอิสลาม (หลักปฏิบัติ) ทั้งห้าประการ (กล่าวคือการกล่าวคำปฎิญานตน การทำละหมาดฟัรดูห้าเวลา การถือศิลอด การจ่ายซะกาตและการไปประกอบพิธีฮัจย์หากมีความสามารถ)

 

12- درِّب ابنك على الصلاة؛ «مروا أبناءكم بالصلاة لسبع، واضربوهم عليها لعشر».

 

12.จงฝึกลูกๆของท่านให้ทำละหมาด ((จงใช้ลูกๆของสูเจ้าทั้งหลายให้ทำละหมาดเมื่ออายุเจ็ดปีและจงเฆี่ยนพวกเขา (หากไม่ทำละหมาดเมื่ออายุสิบปี))

 

13- اصطحب ابنك إلى المساجد، وعلمه كيف يتوضأ.

 

13. จงพาลูกๆผู้ชายของท่านไปยังมัสยิดและจงสอนพวกเขาวิธีการอาบน้ำละหมาด

 

14- عرِّفه آداب المساجد واحترامها وقدسيتها.

 

14. จงสอนให้พวกเขารู้จักมารยาทต่อมัสยิด การให้ความเคารพ และการยกย่องมัสยิด

 

15- درِّبه على الصيام حتى يتعوده عند الكبر.

 

15. จงฝึกพวกเขาให้ถือศิลอดจนกระทั่งพวกเขาคุ้นเคยยามเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

 

16- شجع طفلك على حفظ ما تيسر من القرآن، والأحاديث النبوية، والأذكار الصحيحة.

 

16. ส่งเสริมลูกๆของท่านให้ท่องจำอัลกุรอ่านตามแต่สะดวก- ฮะดิษของท่านนบี และซิกิรต่างๆที่ซอเฮียะห์

 

17- كافئ ابنك كلما تقدم في الحفظ، قال إبراهيم بن أدهم: قال لي أبي: يا بني، اطلب الحديث، فكلما سمعت حديثًا وحفظته فلك درهم. قال: فطلبت الحديث على هذا.

 

17. จงให้รางวัลชมเชยลูกๆของท่านทุกครั้งที่พวกเขามีความก้าวหน้าในการท่องจำ อิบรอฮีม บินอัดฮัมกล่าวว่า บิดาของฉันได้กล่าวว่า โอ้ลูกรักเอ๋ย จงศึกษาเล่าเรียนฮะดิษเถิด ทุกครั้งทีเจ้าได้ยินฮะดิษๆหนึ่ง แล้วเจ้าท่องจำมันได้ เจ้าจะได้รับหนึ่งดิรฮัม เขา (อิบรอฮีม)กล่าวว่า ฉันเรียนรู้ฮะดิษด้วยวิธีนี้

 

18- لا ترهق ولدك بكثرة الحفظ والمدارسة حتى لا يعتبر ذلك عقابًا فيكره حفظ القرآن.

 

18. จงอย่าฝืนลูกๆของท่านให้ท่องจำและทบทวนมากจนเกินไปจนพวกเขามองว่ามันเป็นการลงโทษอย่างหนึ่งและทำให้พวกเขาเกลียดที่จะท่องจำอัลกุรอ่าน

 

19- اعلم أنك قدوة لأبنائك، فإذا تهاونت بالعبادة أو تكاسلت عنها وتثاقلت عند القيام بها تأثر أبناؤك بك في ذلك واستثقلوا العبادة، وربما تهربوا منها.

 

19. จงรู้เถิดว่าท่านนั้นเป็นแบบอย่างสำหรับลูกๆของท่าน ดังนั้นถ้าหากท่านหย่อนยานเรื่องการทำอิบาดัตหรือเกียจคร้านต่อการทำอิบาดัต หรือรู้สึกหนักหนายามที่จะทำอิบาดัต มันจะทำให้ลูกๆของท่านได้รับอิทธิพลจากตัวท่านเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว และพวกเขาจะรู้สึกหนักต่อการทำอิบาดัต และบางทีพวกเขาอาจหนีห่างออกจากการทำอิบาดัต

 

20- درب ابنك على الصدقة والإنفاق بأن تتصدق أحيانًا وهو يراك، أو تعطيه ما يتصدق به على فقير أو سائل، والأفضل من ذلك أن ترغِّبه في أن يتصدق من ماله الخاص الذي يدخره.

 

20. จงฝึกลูกๆของท่านให้บริจาคทานและการใช้จ่ายโดยท่านอาจให้ทานให้พวกเขาดู หรือท่านมอบสิ่งของให้พวกเขามอบให้กับคนยากคนจนหรือคนที่ร้องขอ และที่ดีที่สุดคือท่านส่งเสริมพวกเขาให้ๆทานด้วยกับทรัพย์สินส่วนตัวที่พวกเขาเก็บสะสมเอง

 

الأخلاق

ว่าด้วยเรื่องของอัคล๊าก (จรรยามารยาท)

 

21- إذا أردت أن يكون ابنك صادقًا فلا تزرع في نفسه الخوف.

 

21. ถ้าหากว่าท่านต้องการให้ลูกๆของท่านเป็นคนพูดจริง จงอย่าปลูกฝังความกลัวในจิตใจของลูกๆ

22- اشرح له فضيلة الصدق والأمانة.

 

22. จงอธิบายความประเสริฐของการพูดจริงและความมีอะมานะห์ (ไว้วางใจกันได้/เชื่อถือได้)ให้ลูกๆฟัง

 

24- اختبر أمانة ابنك دون أن تُشعره بذلك.

 

24. จงทดสอบความมีอะมานะห์ของลูกๆของท่านโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกทดสอบ

 

25- درب ابنك على الصبر وعدم الاستعجال، ويمكنك ذلك من خلال تدريبه على الصيام، أو ممارسة بعض الأعمال التي تحتاج إلى صبر وتأنٍ.

 

25. จงฝึกลูกๆของท่านให้มีความอดทนและไม่ร้อนรน โดยท่านสามารถทำได้โดยการฝึกพวกเขาให้ถือศีลอด หรือฝึกให้ทำงานบางอย่างที่จำเป็นต้องมีความอดทนและความละเอียดถี่ถ้วนไม่รีบร้อน

 

26- اعدل بين أبنائك فإن ذلك أفضل وسيلة لتعليمه خلق العدل.

 

26. จงให้ความยุติธรรมแก่ลูกๆทุกคนของท่าน แท้จริงนั่นคือวิธีการที่ดีที่สุดที่จะสอนพวกเขาเกี่ยวกับความยุติธรรม

 

 

 

 

 

27- درِّب ابنك على خلق الإيثار من خلال مواقف عملية، أو من خلال بعض القصص التي تتناول فضيلة الإيثار.

 

27.จงฝึกลูกๆของท่านให้มีนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ด้วยวิธีการเชิงปฏิบัติหรือผ่านการเล่าเรื่องราวบางอย่างที่สอดแทรกความประเสริฐของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

 

28- أوضح لأبنائك النتائج السلبية المترتبة على الخداع والغش والسرقة والكذب.

 

28. จงชี้แจงผลเสียที่ตามมาผลจากการคดโกงหลอกลวง การลักขโมยและการพดเท็จให้ลูกๆของท่านเข้าใจ

 

29- إذا أظهر ابنك شجاعة في بعض المواقف فامدحه على ذلك وكافئه، وبيِّن له أن الشجاعة هي أن تفعل ما هو صحيح وضروري.

 

29. ถ้าหากลูกๆของท่านแสดงความกล้าหาญในบางสถานการณ์ ท่านจงชื่นชมความกล้าหาญของพวกเขาและให้รางวัลพวกเขา และอธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่า ความกล้าหาญนั้นคือการทำในสิ่งที่ถูกต้องและจำเป็น

 

30- لا تكن قاسيًا فتدفعه إلى الخوف والكذب والجبن.

 

30. จงอย่าเป็นคนดุ เพราะท่านจะทำให้ลูกๆของท่านเป็นคนขี้หวาดกลัว พูดเท็จ และขี้ขลาด

 

31- حبِّب إليه خُلق التواضع واللين وترك الكبر.

31.จงฝึกลูกๆของท่านให้รักในนิสัยการนอบน้อมถ่อมตน อ่อนโยนและออกห่างจากนิสัยหยิ่งจองหอง

 

32- علمه أن الناس يتفاضلون بالتقوى والعمل الصالح، لا بالأنساب والأحساب والأموال.

 

32. จงสอนลูกๆของท่านว่า มนุษย์เรานั้นจะมีเกียรติ์สูงส่งแตกต่างกันด้วยกับความตักวาความยำเกรงและด้วยกับการงานดีที่ดีไม่ใช่ด้วยกับเชื้อสายวงศ์ตระกูล ยศถาบรรดาศักดิ์หรือทรัพย์สินเงินทอง

 

33- علمه أن الظلم مرتعه وخيم، وأن البغي يصرع أهله، وأن الخيانة تقود للهلاك.

 

33. จงสอนลูกๆของท่านว่าการกดขี่ข่มเหงผู้อื่นนั้นประหนึ่งทุ่งหญ้าที่ไร้ความอุดมสมบูรณ์ และแท้จริงการกดขี่นั้นจะกระหน่ำตีผู้ที่กระทำมัน และการทรยศ/การบิดพลิ้วนั้นจะนำไปสู่ความหายนะ

 

34- علمه الفروق بين الأشياء التي قد تخفى عليه؛ كالفرق بين الشجاعة والتهور، والفرق بين الحياء والخجل، والفرق بين التواضع والمذلة، والفرق بين الذكاء والمخادعة.

 

34. จงสอนลูกๆของท่านถึงข้อแตกต่างระหว่างสิ่งต่างๆที่อาจจะคลุมเครือสำหรับพวกเขาอาทิเช่น ข้อแตกต่างระหว่างความกล้าหาญกับความมุทะลุ ข้อแตกต่างระหว่างความอายกับความประหม่า ข้อแตกต่างระหว่างความถ่อมตนกับความอัปยศอดสู และข้อแตกต่างระหว่างความฉลาดหลักแหลมกับความเจ้าเล่ห์เพยุบาย

35- عوِّد أولادك الكرم بأن تكون كريمًا في بيتك، باذلاً معروفك لغيرك.

 

35. จงฝึกลูกๆของท่านให้เคยชิดกับนิสัยเอื้ออาทร โดยท่านต้องทำตัวเป็นคนที่เอื้ออาทรภายในบ้านของท่าน และแบ่งปันความเอื้ออาทรให้แก่ผู้อื่น

 

36- لا تخلف وعدك أبدًا وبخاصة مع أبنائك، فإن ذلك يرسخ في نفوسهم فضيلة الوفاء بالعهد.

 

36. จงอย่าบิดพลิ้วสัญญาของท่านเป็นอันขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูกๆของท่าน เพราะแท้จริงนั่นจะเป็นการปลูกฝังความประเสริฐของการปฏิบัติตามสัญญาในจิตใจของพวกเขา

 

السلوك والآداب

ว่าด้วยเรื่องของอุปนิสัยและมารยาทต่างๆ

 

37- ألق على أبنائك السلام.

 

37. จงให้สลามแก่ลูกๆของท่าน

 

38- لا تتساهل في كشف العورة أمام أبنائك.

 

38. จงอย่าหย่อนยานในเรื่องการปกปิดเอารัตของท่านต่อหน้าลูกๆของท่าน

 

 

39- أحسن إلى جيرانك.

 

39. จงทำดีต่อเพื่อนบ้านของท่าน

 

40- علم ابنك حقوق الجار وخطورة إيذائه.

 

40. จงสอนลูกๆของท่านเกี่ยวกับสิทธิของผู้เป็นเพื่อนบ้านและอันตราย/บาปของการสร้างคับแค้นใจสร้างความรำคาญใจให้แก่เพื่อนบ้าน

 

41- بر والديك، وصل أرحامك، واصطحب أبناءك معك في ذلك.

 

41. จงทำดีต่อบิดามารดาของท่าน จงเชื่อมสัมพันธ์ฉันญาติมิตร และชักชวนลูกๆของท่านให้ร่วมเป็นเพื่อนกับท่านในการทำสิ่งดังกล่าวนั่น

 

42- أخبر أبناءك أن الناس يحبون الطفل المهذب الذي لا يؤذي الآخرين.

 

42. จงบอกลูกๆของท่านว่าแท้จริงทุกคนรักเด็กมีมารยาทที่ไม่กลั่นแกล้งรังแกคนอื่น

 

43- اكتب رسالة لابنك تتضمن بعض الآداب والنصائح والوصايا.

 

43. จงเขียนจดหมาย/ข้อความถึงลูกๆของท่านโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับมารยาท คำแนะนำตักเตือนและคำสั่งเสียบางประการ

 

44- وضح لأبنائك أن بعض السلوكيات مرفوضة تمامًا، واذكر لهم أسباب ذلك.

 

44. จงชี้แจงกับลูกๆของท่านว่าอุปนิสัยบางอย่างนั้นไม่เป็นที่ยอมรับโดยสิ้นเชิง และจงบอกสาเหตุของมันให้พวกเขาเข้าใจ

 

45- اجلس مع أبنائك واقرؤوا كل مرة عن أدب من الآداب النبوية، واسألهم ماذا استفادوا، ويمكن أن تجعل ابنك يقرأ وأنت تستمع.

 

45.จงนั่งกับลูกๆของท่านและอ่านมารยาทของท่านนบี (.) ให้พวกเขาฟังทุกๆครั้ง และถามพวกเขาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ได้ยิน และบางทีท่านอาจให้ลูกๆของท่านเป็นคนอ่านและตัวท่านเป็นคนฟัง

 

46- انصح ابنك سرًا ولا تعاقبه أمام الآخرين.

 

46. จงตักเตือนลูกๆของท่านอย่างลับๆ และไม่ตำหนิพวกเขาต่อหน้าคนอื่น

47- لا تكثر من اللوم ما استطعت.

 

47. จงอย่าตำหนิติเตียนให้มากเกินไปหากทำได้

 

48- استأذن على ابنك قبل الدخول، فإن ذلك أفضل وسيلة لتعليمه الاستئذان.

 

48. ท่านจงขออนุญาตก่อนเข้าห้องของลูกๆของท่าน แท้จริงนั่นคือวิธีการสอนพวกเขาที่ดีสุดเกี่ยวกับการขออนุญาต

49- لا تتوقع أن يفهم ابنك ما تريد من أول مرة

          ﴿وَأْمُرْ أَهْلَكَ بِالصَّلَاةِ وَاصْطَبِرْ عَلَيْهَا﴾.

 

49. จงอย่าคาดหวังว่าลูกๆของท่านต้องเข้าใจในสิ่งที่ท่านต้องการตั้งแต่ครั้งแรกที่สั่ง

(( และจงสมาชิกครอบครัวของสูเจ้าให้ดำรงละหมาดและจงอดทนต่อสิ่งนั้น))

 

50- لا تنس أن تسمِّي الله قبل الطعام بصوت مسموع، وكذلك أن تحمد الله بعد الطعام.

 

50. จงอย่าลืมที่จะกล่าวพระนามของอัลลอฮ์ก่อนรับประทานอาหารด้วยกับเสียงดังพอที่จะให้พวกเขาสามารถได้ยินได้ และจงกล่าวขอบคุณอัลลอฮ์หลังรับประทานอาหารด้วยเช่นกัน

 

51- تجاهل بعض أخطاء ولدك، ولا تجعل من صدرك خزانة لحفظ الأخطاء.

 

51. จงลืม/จงทำเป็นไม่รู้ข้อผิดพลาดบางอย่างของลูกๆบ้าง จงอย่าทำให้ใจของท่านเป็นสถานที่เก็บสะสมข้อผิดพลาดต่างๆ

 

52- اعتذر لابنك عندما تكون مخطئًا.

 

52. จงขอโทษลูกๆของท่านหากว่าท่านเป็นคนผิด

 

53- شجِّع ابنك على التميز وقل له: أَعْرِف أنك ولد متميز، وتستطيع أن تفعل ذلك.

 

53. จงส่งเสริมลูกๆของท่านให้มีความรับผิดชอบแยกแยะได้ จงพูดกับเขา พ่อรู้ว่าหนูเป็นลูกที่มีความรับผิดชอบแยกแยะได้ หนูสามารถทำนั้นทำนี้ได้

54- اجعل لابنك شيئًا من الخصوصية.

 

54. จงมอบสิ่งที่เป็นของเฉพาะตัวสำหรับลูกๆของท่าน

 

55- لا تسخر من كلام ابنك أو من تصرفاته.

 

55. จงอย่าหัวเราะเยาะคำพูดของลูกๆของท่านหรือพฤติกรรมการกระทำบางอย่างของพวกเขา

 

56- علم ابنك عبارات التهنئة والترحيب والمجاملات.

 

56. จงสอนสำนวนประโยคการแสดงความยินดี การต้อนรับและการชื่นชมยินดีให้แก่ลูกๆของท่าน

 

57- لا تبالغ في تدليل ولدك.

 

57. จงอย่าเอาใจลูกของท่านมากจนเกินไป

 

58- لا تعود ابنك على الإغراء المادي لحثه على فعل أمر ما، فإن ذلك يضعف شخصيته أمام المادة.

 

58. จงอย่าทำให้ลูกๆของท่านเคยชินกับแรงจูงใจทางวัตถุเพื่อส่งเสริมให้พวกเขาทำบางสิ่งบางอย่าง เพราะแท้จริงมันจะทำให้บุคลิกภาพของเขาอ่อนไหวต่อแรงจูงใจทางวัตถุ

59- اجعل ابنك صديقك رقم (1).

 

59. จงทำให้ลูกๆของท่านเป็นดังเพื่อนหมายเลขหนึ่งของท่าน

 

البناء الجسدي

ว่าด้วยเรื่องการเสริมสร้างทางกายภาพ

 

60-أتح لابنك وقتًا كافيًا للَّعب.

 

60. จงให้เวลาเล่นที่เพียงพอกับลูกๆของท่าน

 

61- وفر لابنك الألعاب المفيدة.

 

61.จงจัดหาของเล่นที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอให้แก่ลูกๆของท่าน

 

62- اجعله يختار بعض ألعابه بنفسه.

 

62. จงให้ลูกๆของท่านเป็นคนเลือกของเล่นบางอย่างด้วยตัวของพวกเขาเอง

 

63- علم ابنك السباحة والجري وبعض ألعاب القوة.

 

63.จงสอนลูกๆของท่านเรื่องการว่ายน้ำ การวิ่งและการละเล่นบางอย่างที่ใช้แรง

64- اجعل ابنك يفوز عليك أحيانًا في بعض الألعاب.

 

64. ให้โอกาสลูกๆของท่านเอาชนะท่านบ้างในการเล่นบางอย่าง

 

65- وفر لابنك غذاء متوازنًا.

 

65. จงจัดเตรียมอาหารครบหมู่ที่เพียงพอสำหรับลูกๆของท่าน

 

66- اهتم بتنظيم وجبات ابنك.

 

66. จงให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมอาหารมื้อต่างๆสำหรับลูกๆของท่าน

 

67- حذر ابنك من الإفراط في تناول الأطعمة.

 

67. ตักเตือนลูกๆของท่านเกี่ยวกับข้อเสียของการทานอาหารมากเกินไป

 

68- لا تحاسب ابنك على أخطائه أثناء تناول الطعام.

 

68.จงอย่าสอบสวนความผิดต่างๆของลูกๆท่านระหว่างรับประทานอาหาร

69- اصنع الطعام الذي يحبه ابنك دائمًا.

 

69. จงทำอาหารที่ลูกๆของท่านชอบทานเป็นประจำ


البناء النفسي

ว่าด้วยการเสริมสร้างทางจิตวิทยา

 

70- استمع لابنك جيدًا واهتم بكل كلمة يقولها.

 

70. จงฟังลูกๆของท่านอย่างจริงจังและจงเอาใจใส่ในทุกๆคำที่พวกเขาพูด

 

71- اجعل ابنك يواجه مشكلاته بنفسه، ويمكن أن تقدم له العون دون أن يشعر.

 

71. พึงทำให้ลูกๆของท่านเผชิญหน้าแก้ไขปัญหาของพวกเขาด้วยตัวเอง แต่ท่านก็สามารถให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขาโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว

 

72- احترم ابنك واشكره إذا أجاد عملاً ما.

 

72. จงให้เกียรติ์ในตัวลูกๆของท่าน จงขอบคุณและชื่นชมพวกเขา เมื่อพวกเขาทำสิ่งที่ดีใดๆก็ตาม

 

73- لا تلجئ ابنك إلى الحلف، بل قل له: إني مصدِّقك دون أن تحلف.

 

73. จงอย่าให้ลูกๆของท่านต้องพึ่งการสาบาน หากทว่าจงพูดกับพวกเขาว่า พ่อ/แม่เชื่อพวกเธอโดยพวกเธอไม่จำเป็นต้องสาบานใดๆ

 

 

 

74- تجنب عبارات التهديد والوعيد.

 

74. จงหลีกเลี่ยงการใช้สำนวนข่มขู่และการคาดโทษต่างๆ

 

75- لا تشعر ابنك بأنه شخص سيء أو غبي لا يفهم.

 

75. จงอย่าทำให้ลูกๆของท่านรู้สึกว่าตัวพวกเขาเป็นคนไม่ดี โง่เขลาไม่เข้าใจอะไร

 

76- لا تتضجر من كثرة أسئلة ابنك، وحاول أن تجيب عن كل ما يسأل عنه بإجابات بسيطة ومقنعة.

 

76. จงอย่ารู้สึกรำคาญจากการที่ลูกๆถามคำถามมากมาย จงพยายามตอบทุกๆคำถามของพวกเขาด้วยคำตอบที่ง่ายๆและน่าพึงพอใจ

 

77- ضم ابنك إلى صدرك وأشعره بالحب والحنان.

 

77. โอบลูกของท่านมาที่อกของท่าน และทำให้เขารู้สึกถึงความรักความเอ็นดู (ของท่านต่อพวกเขา)

 

78- استشر ابنك في بعض الأمور واعمل بمشورته.

 

78. จงปรึกษาหารือกับลูกๆของท่านในเรื่องบางเรื่องและทำตามข้อเสนอแนะของพวกเขา

 

 

 

79- أَشْعِر ابنك بقدر من الحرية في اتخاذ القرارات.

 

79. พึงทำให้ลูกๆของท่านรู้สึกว่ามีเสรีภาพระดับหนึ่งในการตัดสินใจ

 

البناء الاجتماعي

ว่าด้วยกับการเสริมสร้างบุคลิกภาพทางสังคม

 

80- سجل أبناءك في المراكز الصيفية، وحلقات تحفيظ القرآن، والمسابقات العلمية، والمعسكرات الكشفية، وغير ذلك من الأنشطة.

 

80. จงลงชื่อให้ลูกๆของท่านได้เข้าร่วมการอบรมภาคฤดูร้อน กลุ่มการท่องจำอัลกุรอ่าน การแข่งขันทางวิชาการ ค่ายลูกเสือ เนตรนารี และกิจกรรมอื่นๆ

 

81- اجعل ابنك يتولى إكرام الضيوف بنفسه؛ كأن يقدم لهم الشاي والقهوة والفاكهة.

 

81. พึงให้ลูกๆของท่านเป็นผู้ดูแลต้อนรับแขกเหรื่อด้วยตัวของพวกเขาเอง เช่นยกน้ำชากาแฟและผลไม้ให้แก่แขกผู้มาเยือน

 

82- رحِّب بابنك عندما يدخل عليك وأنت مع أصدقائك.

 

82. เชื้อเชิญแนะนำลูกๆของท่าน ตอนที่พวกเขาเข้ามาในขณะที่ท่านอยู่กับเพื่อนๆของท่าน

 

83- اجعل ابنك يشارك في أنشطة المسجد الاجتماعية؛ مثل صندوق رعاية الأيتام والأرامل.

 

83. ให้ลูกๆของท่านเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆของทางมัสยิด เช่น กองทุนบริจาคช่วยเหลือเด็กกำพร้าและแม่หม้าย

 

84- درب ابنك على العمل والبيع والشراء والكسب الحلال.

 

84. ฝึกลูกๆของท่านให้ทำงาน ค้าขาย และประกอบสัมมาอาชีพ

 

85- اجعل ابنك يستشعر آلام الآخرين أحيانًا، ويحاول التخفيف عنهم.

 

85. พึงทำให้ลูกๆของท่านรับรู้ถึงความเจ็บปวดทุกข์ยากของผู้อื่นบ้างในบางครั้ง และให้พวกเขาพยายามช่วยเหลือบรรเทามัน

 

86- لا تجعل ولدك يحمل هموم العالم.

 

86. อย่าให้ลูกๆของท่านต้องแบกรับปัญหาของชาวโลก

 

87- اجعل ابنك يرى ثمار عملك الاجتماعي.

 

87. พึงทำให้ลูกๆของท่านเห็นผลการทำงานทางสังคมของพวกเขา

 

88- أرسل ابنك لقضاء بعض الحاجات، وأَشْعِره بثقتك فيه.

 

88. ส่งลูกๆของท่านให้ออกไปทำภาระหน้าที่บางอย่าง และทำให้พวกเขามีความรู้สึกว่าท่านเชื่อมั่นในพวกเขา

 

89- لا تمانع في أن يختار ابنك أصدقاءه بنفسه، ويمكنك أن تجعله يختار من تريد أنت دون أن تشعره بذلك.

 

89. จงอย่าห้ามลูกๆของท่านไม่ให้เลือกเพื่อนๆของพวกเขาด้วยตัวเอง แต่ท่านสามารถทำให้พวกเขาเลือกเพื่อนที่ท่านต้องการโดยไม่ทำให้พวกเขารู้ตัว

 

البناء الصحي

ว่าด้วยการเสริมสร้างด้านสุขภาพ

 

90- اهتم بصحة أبنائك.

 

90. จงเอาใจใส่ต่อสุขภาพของลูกๆของท่าน

 

91- لا تهمل التطعيمات في أوقاتها.

 

91. จงอย่าละเลยในการฉีดวัคซีนให้แก่พวกเขาตรงตามเวลา

 

92- لا تبالغ في إعطاء الأدوية إلا بالقدر المسموح به.

 

92. จงอย่าให้ลูกๆทานยาเกินขนาดเว้นแต่ในปริมาณที่แพทย์อนุญาต

 

93- ارق ابنك بالرقى الشرعية.

 

93. ปัดเป่าขอความคุ้มครองให้แก่ลูกๆของท่านด้วยคำอ่านที่ศาสนาอนุมัติ

94- عوِّد أبناءك النوم مبكرًا والاستيقاظ مبكرًا.

 

94. ทำให้ลูกๆของท่านเคยชินกับการเข้านอนเร็วและตื่นนอนแต่เช้า

 

95- اجعل ابنك يهتم بنظافة بدنه وأسنانه وثيابه.

 

95. ทำให้ลูกๆของท่านเอาใจใส่เกี่ยวกับความสะอาดของร่างกาย ฟันและเสื้อผ้าของพวกเขา

96- لا تنتظر حتى يستفحل المرض.

 

96. จงอย่าจนกระทั่งเจ็บหนัก

 

97- أَبعِد أبناءك عن المصابين بأمراض معدية.

 

97. ให้ลูกๆของท่านอยู่ห่างจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อ

 

98- لا تشعر ابنك بخطورة مرضه.

 

98. จงอย่าทำให้ลูกๆของท่านรู้สึกหวาดกลัวต่อความร้ายแรงของการป่วยของเขา

 

99- الجأ إلى الله؛ فهو الذي بيده الشفاء من جميع الأدواء.

 

99. จงมอบหมายพึ่งพิงต่ออัลลอฮ์พระผู้ซึ่งการรักษาให้หายป่วยจากโรคทั้งมวลนั้นอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์

 

 

 

البناء الثقافي

ว่าด้วยการเสริมสร้างด้านวิชาการ

 

100- اطرح على ابنك بعض الألغاز.

 

100. จงถามลูกๆของท่านเกี่ยวกับคำทายปริศนาบางอย่าง

 

101- اطلب منه كتابة بعض الموضوعات التعبيرية.

 

101. ขอให้ลูกๆของท่านเขียนเรียงความบางเรื่อง

 

102- حاول أن تقرأ ما يكتبه ابنك دائمًا.

 

102. ท่านจงพยายามอ่านสิ่งที่ลูกๆของท่านเขียนอยู่เป็นนิจ

 

103- لا تتوقف أمام كل خطأ نحوي أو لغوي يقع فيه ابنك.

 

103. อย่าเอาใจใส่ทุกๆข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์หรือทางภาษาที่ลูกๆของท่านทำ

 

104- شجع ابنك على القراءة.

 

104. ส่งเสริมลูกๆของท่านให้อ่าน

 

 

 

 

 

105- اجعله يختار الكتب والقصص التي يريد قراءتها.

 

105. จงให้ลูกๆของท่านเป็นคนเลือกหนังสือและเรื่องราวที่เขาต้องการอ่าน

 

106- شارك ابنك في قراءة شيء ما.

 

106. มีส่วนร่วมในการอ่านบางสิ่งบางอย่างที่ลูกๆของท่านอ่าน

 

107- أحضر لأبنائك بعض ألعاب الذكاء.

 

107. จัดหาของเล่นลับสติปัญญาบางอย่างให้ลูกๆของท่าน

 

108- ادفع ابنك للنجاح الدراسي.

 

108. จงผลักดันลูกๆของท่านให้ประสบความสำเร็จในเรื่องการศึกษา

 

109- اجعل ابنك يتغلب على العقبات التي تحول دون تفوقه الدراسي.

 

109. จงให้ลูกๆของท่านเอาชนะอุปสรรคที่ขวางกั้นความสำเร็จทางการศึกษาของพวกเขา

 

110- شجع ابنك على حفظ بعض أشعار المتقدمين والمتأخرين وحكمهم.

 

110. จงส่งเสริมให้ลูกๆของท่านท่องจำบทกวีบางบทบางตอนของนักกวีทั้งในอดีตและปัจจุบันและคำคมของพวกเขา

111- شجعه على حفظ بعض الأمثال العربية الفصيحة.

 

111. ส่งเสริมให้ลูกๆของท่านท่องจำสำนวนสุภาษิตที่ดีจำนวนหนึ่ง

 

112- درب ابنك على فنون الخطابة والإلقاء.

 

112. จงฝึกให้ลูกๆของท่านกล่าวปราศรัยและปาฐกถา

 

113- دربه على فنون الحوار والإقناع.

 

113. ฝึกลูกๆของท่านเกี่ยวกับศิลปะในการพูดคุยและการโน้มน้าวจิตใจ

 

114- اجعله يشارك في بعض دورات تنمية القدرات الذاتية.

 

114. ให้ลูกๆของท่านได้เข้าร่วมการอบรมต่างๆเพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเอง

 

115- شجع ابنك على إتقان لغة أجنبية مشهورة.

 

115. ส่งเสริมลูกๆของท่านให้เชี่ยวชาญภาษาต่างชาติที่นิยมแพร่หลาย

 

الثواب والعقاب

ว่าด้วยการตอบแทนและการลงโทษ

 

116- استخدم أسلوب الثواب والعقاب.

 

116. จงใช้วิธีการให้รางวัลและการลงโทษ

 

117- كافئ دائمًا ولا تعاقب دائمًا.

 

 117. จงให้รางวัลตอบแทนเสมอและอย่าลงโทษตลอดเวลา

 

118- نوِّع في أسلوب المكافأة بحيث لا تكون المكافأة دائمًا مالية؛ بل يمكن أن تكون رحلة، أو السماح باللعب على الكمبيوتر، أو هدية، أو الخروج مع صديق.

 

118. จงใช้วิธีการให้รางวัลที่หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องเป็นให้เป็นเงินทองเสมอไป แต่อาจเป็นการไปท่องเที่ยว หรือการอนุญาตให้เล่นคอมพิวเตอร์ หรือให้ของขวัญ หรืออนุญาตให้ออกไปข้างนอกกับเพื่อนๆของเขา

 

119- نوِّع في أسلوب العقاب، ولا يكن الضرب هو الأسلوب المفضل لديك، فهناك النظرة الغاضبة، والزجر بالقول، والهجر مدة معينة، والحرمان من جزء من المصروف اليومي، أو من النزهة الأسبوعية.

 

119. จงใช้วิธีการลงโทษที่หลากหลาย จงอย่าให้วิธีการเฆี่ยนตีเป็นวิธีที่ท่านชื่นชอบ มีวิธีอื่นเช่นการมองด้วยสายตาที่โกรธ การว่ากล่าวตักเตือน การออกห่างเป็นช่วงเวลาหนึ่ง การไม่ให้ค่าจ่ายรายวันบางส่วน หรือ การไม่ไปท่องเที่ยวประจำสัปดาห์

 

 

 

 

 

120- اعلم أن العقاب المناسب هو الذي يمنع من تكرار الخطأ ويدفع إلى الصواب.

 

120. พึงรู้เถิดว่าการลงโทษอย่างเหมาะสมนั้นเป็นวิธีการยับยั้งลูกๆจากการทำผิดซ้ำและผลักดันพวกเขาไปสู่การปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมให้ถูกต้อง

 

121- تذكر أن النبي صلى الله عليه وسلم ما ضرب غلامًا قط.

 

121. พึงรำลึกเถิดว่า แท้จริงท่านนบี (.)นั้นท่านไม่เคยตีเด็กรับใช้ของท่านเลย

122- لا تعاقب من أول مرة.

 

122. จงอย่าลงโทษผู้ที่ทำผิดเป็นครั้งแรก

 

123- لا تكن قاسيًا في عقابك.

 

123. จงอย่ารุนแรงในการทำโทษของท่าน

 

124- إذا عاقبت ابنك فاشرح له سبب عقابك له.

 

124. ถ้าหากท่านลงโทษลูกๆของท่าน ท่านต้องชี้แจงสาเหตุการลงโทษให้เขาเข้าใจ

 

 

 

 

125- لا تجعل ابنك يشعر بأنك تتلذذ بعقابه، أو تحمل له شيئًا من الضغينة.

 

125. จงอย่าทำให้ลูกของท่านรู้สึกว่าท่านมีความสุขกับการได้ลงโทษเขาหรือท่านมีความเกลียดชังใดๆต่อเขา

 

126- لا تضرب ابنك أمام الناس ولا تضربه أثناء الغضب.

 

126. จงอย่าตีลูกๆของท่านต่อหน้าผู้คน และจงอย่าตีลูกในขณะที่ท่านกำลังโกรธ

 

127- لا تضرب ابنك على وجهه، ولا ترفع يدك أكثر من اللازم حتى لا يتضاعف عليه الألم.

 

127. จงอย่าตบใบหน้าลูกของท่าน และจงอย่ายกมือสูงกว่าปกติเพื่อว่ามันจะไม่ทำให้ลูกของท่านเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น

 

128- لا تضرب بعد وعدك بعدم الضرب، حتى لا يفقد ثقته فيك.

 

128. จงอย่าตีลูกหลังที่ท่านได้สัญญาว่าจะไม่ตี เพื่อว่าเขาจะได้หมดความไว้วางใจต่อตัวท่าน

 

129- أَشْعِر ابنك بأنك تعاقبه لمصلحته وأن حبك له يدعوك لذلك.

129. พึงทำให้ลูกของท่านรู้สึกว่าท่านลงโทษเขาเพื่อประโยชน์ของเขา และท่านลงโทษเขาเนื่องจากรักเขา

 

 " فقساليزدجروا ومن يك حازما

       فليقس احيانا على من يرحم"

 

  เขาแข็งกร้าวเพื่อว่าพวกเขาหลาบจำ และผู้ใดที่เคร่งครัด เขาพึงแข็งกร้าวในบางโอกาสกับคนที่เขาที่รัก

 

 

130- أَعْلِمه أن العقاب لم يشرع للتعذيب، وإنما شرع

للتأديب.

 

130. จงบอกให้ลูกๆรู้ว่าการลงโทษนั้นไม่ได้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อทรมานพวกเขา แต่มันได้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อแก้ไขปรับปรุงความประพฤติของพวกเขา

 

 

نسأل الله الهداية والتوفيق والسداد، وصلى الله وسلم على نبينا محمد.

พวกเราวิงวอนขอทางนำ การชี้นำ และแนวทางที่ถูกต้องจากเอกองค์อัลลอฮ์ ขอซอลาวาตและสลามจงมีแด่ท่านนบีมูฮัมหมัด  (.)

 

 

وتمت ترجمة هذه المقالة في يوم الجمعة 1 من شهر مي 2563