วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หลักภาษามาเลเซีย 10

ก่อนหน้านี้เราเคยพูดคุยกันเกี่ยวกับลักษณะของภาษามลายูที่เป็นภาษาคำติดต่อ กล่าวคือเป็นภาษาที่มีการเติมคำเติมหน้า (คำอุปสรรค)คำเติมหลัง (คำปัจจัย)เพื่อเปลี่ยนสถานะภาพของคำจากกลุ่มคำหนึ่งไปเป็นอีกกลุ่มคำหนึ่ง เช่น จากคำคุณศัพท์เป็นคำกริยา หรือจากคำนามเป็นคำกริยา หรือ จากคำกริยาเป็นคำนาม เป็นต้น
คราวนี้เราจะมาพูดกันต่อเกี่ยวกับหลักการเติมคำอุปสรรค/ปัจจัยที่ใส่เข้ากับคำกริยา หรือคำที่ต้องการเปลี่ยนสถานะภาพให้เป็นคำกริยา นะครับว่าในภาษามลายูมีหลักการใช้อย่างไร ?
ถ้าเพื่อนๆยังจำได้เราเคยพูดคราวๆว่าหลักๆแล้วคำเติมหน้าคำกริยานั้นจะมีสองกลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่ม me (ซึ่งมักจะใส่เข้ากับสกรรมกริยา) และกลุ่ม ber (ซึ่งมักจะเติมเข้ากับอกรรมกริยา) หมายเหตุ ที่ต้องเรียกว่า กลุ่ม ก็เพราะว่า ภายใต้คำอุปสรรค me และ ber นั้นจะมีสมาชิกของมัน ดังนี้ กลุ่ม me มี mem , men , meng และ menge ส่วนกลุ่ม ber ก็จะมี be และ bel เป็นสมาชิกภายในกลุ่มครับ
เมื่อแต่ละกลุ่มมีสมาชิกอยู่หลายตัวอย่างนี้ แล้วเราจะเลือกนำเอาคำอุปสรรคเหล่านี้มาใช้อย่างไร มีหลักเกณฑ์อย่างไร ? หลักก็คือเค้าให้พิจารณาดูว่าคำๆหนึ่งนั้นเริ่มต้นด้วยกับอักษรอะไร เช่น คำว่า baca เป็นคำที่เริ่มต้นด้วยกับอักษร b หลักกำหนดว่า ให้เติมคำอุปสรรค mem หรือคำว่า minum หลักก็กำหนดว่าให้เติม คำอุปสรรค me เป็นต้นครับ และรายละเอียดมีดังนี้ครับ
Me – k, l, m, n , ng, ny, p, r, s , t , w, x , y ,
Mem- b, f , v
Men – c , d , j, sy, z ,
Meng- a, e, i, o , u , g, gh , h, kh
Menge – ใส่เข้าคำที่มีหนึ่งพยางค์
เช่น makan-memakan , nganga- menganga , nyanyi-menyanyi, baca-membaca , fitnah-memfitna, veto-memveto, cuci-mencuci, didik-mendidik , jadi-menjadi, syarat-mensyaratkan, ziarah-menziarahi , aku-mengaku, ejek-mengejek, ikut – mengikut, ukur-mengukur , gigit –menggigit, cat-mengecat, cam- mengecam เป็นต้นครับ
ส่วนการเติมคำอุปสรรค ber ก็มีหลักเกณฑ์การเลือกเติมดังนี้ครับ
Bel – ใส่กับคำว่า ajar เป็น bel+ajar : belajar
Be – ใส่กับคำที่เริ่มต้นด้วยกับอักษร r และคำยกเว้น kerja เช่น rumah-berumah, raja-beraja , kerja- bekerja
Ber- ใส่กับคำอื่นๆนอกเหนือจากกลุ่มข้างบนทั้งสองกลุ่ม เช่น lari-berlari, malam-bermalam , janji – berjanji , jalan-berjalan, baju-berbaju , kasut -berkasut เป็นต้นครับ
ส่วนความหมายของคำกริยาหลังเติมคำอุปสรรคเหล่านี้เราสามารถตรวจดูได้จากพจนานุกรมนะครับ ครับหวังว่าคงจะได้ให้ข้อมูลบางอย่างแก่เพื่อนๆสมาชิกไม่มากก็น้อยนะครับ ถ้าหากว่าอ่านครั้งเดียวยังไม่เข้าใจก็ลองอ่านครั้งที่สองเเละที่สามดูนะครับ แล้วกลับมาพบกันใหม่ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น