หลักภาษามลายู (3)
คราวที่แล้วเราได้ทำความรู้เกี่ยวกับสามัญนามกันแล้วนะครับ
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำนามกลุ่มที่สองกันครับ นั่นก็คือวิสามัญนาม
วิสามัญนามคืออะไร?
Kata nama khas ialah kata nama yang digunakan untuk merujuk benda ,
orang , haiwan , tempat atau perkara yang khusus sifatnya. วิสามัญนามคือคำนามที่ใช้เพื่ออ้างถึงสิ่งของ
คน สัตว์ สถานที่หรือเรื่องที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เหมือนกับสามัญนาม วิสามัญนามก็เช่นกันสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
คือกลุ่มที่ระบุถึงสิ่งที่มีชีวิต เช่น Attakorn (อัตถากร) , Aziz(อาซิซ) , Hannan(ฮันนาน) , Fatimah (ฟาติมะห์), Somsak( สมศักดิ์ ), Si Putih(เจ้าขาว), Sang
Kancil(เจ้ากระจง) dan sebagainya (และอื่นๆ).และกลุ่มที่ระบุถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น Pattani (ปัตตานี),
Teluk Siam (อ่าวไทย), Menara Kuala Lumpur(กัวลาลัมเปอร์),
Sony (โซนี่), Perdana Menteri(นายกรัฐมนตรี) ,
Muzium Negara (พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ)dan sebagainya (และอื่นๆ).
หลักในการใช้คำวิสามัญนามก็คืออักษรตัวแรกในคำที่มีลักษณะเป็นวิสามัญนามนี้จะต้องเขียนด้วยกับอักษรพิมพ์ใหญ่เสมอไม่ว่าจะอยู่ณ.ตำแหน่งใดในประโยค
ข้างหน้า ตรงกลางหรือท้ายประโยค เช่น
· Bangkok ialah ibu kota Thailand.
กรุงเทพคือเมืองหลวงของประเทศไทย
· Pada bulan lepas , Alina pergi ke Bangkok dengan keluarganya.
ในเดือนที่แล้ว อลีนาไปที่กรุงเทพกับครอบครัวของเธอ
· Sekarang Fatimah tinggal di
Bangkok.
ตอนนี้ฟาติมะห์อาศัยอยู่ที่กรุงเทพ
ครับในทั้งสามประโยคข้างบน เราจะพบว่า Bangkok นั้นอักษรแรกในคำจะถูกเขียนด้วยอักษรพิมพ์เสมอไม่ว่าจะอยู่ต้น
กลางหรือท้ายประโยค
ซึ่งจะต่างจากสามัญนามที่จะเขียนด้วยกับอักษรพิมพ์ใหญ่เฉพาะเมื่ออยู่ต้นประโยคเท่านั้น
ครับแล้วกลับมาพบกันใหม่กับสาระน่ารู้เกี่ยวกับหลักภาษามลายูครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น