หลักภาษามลายู ( 2
)
ครับคราวที่แล้วเราได้พูดเกี่ยวกับกลุ่มคำ
หรือ golongang kata ในภาษามลายูไปแล้วนะครับ
ยังจำได้นะครับว่ามีอยู่กี่กลุ่ม ? สี่กลุ่มไงครับ
คราวหน้านี้เราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับแต่กลุ่มกันหน่อยนะครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง
กลุ่มแรกคือคำนาม
หรือ kata nama คำนามในภาษามลายูแบ่งออกเป็นสามกลุ่มนะครับ
คือ หนึ่ง สามัญนาม หรือคำนามทั่วไป ในภาษามลายูเราเรียกว่า kata nama am สอง วิสามัญนาม หรือคำนามเฉพาะ ในภาษามลายูเราเรียกว่า kata nama
khas และสุดท้ายคือ สรรพนาม ซึ่งคำนามกลุ่มนี้เราเรียกว่า kata
ganti nama ครับ
ในคราวนี้เราจะพูดถึงสามัญนามกันก่อนนะครับ
สามัญนามคืออะไร
? Kata nama am ialah kata nama
yang digunakan untuk merujuk benda , orang , haiwan ,tempat atau perkara yang
umum sifatnya. สามัญนามคือ คำนามที่ใช้เพื่ออ้างถึงสิ่งของ คน
สัตว์ สถานที่หรือสิ่งที่มีลักษณะทั่วไป
สามัญนามนี้สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อยดังนี้
หนึ่ง สามัญนามที่พูดถึงสิ่งที่มีชีวิต เช่น adik (น้อง) , rama-rama(ผีเสื้อ), buaya(จระเข้) , peniaga(พ่อค้า/แม่ค้า) , juru
bahasa (ล่าม), penyanyi (นักร้อง),
harimau(เสือ) dan lain-lain(และอื่นๆ) สอง
สามัญนามที่พูดถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น tandas(ห้องน้ำ)
, bas (รถเมล์), tasik (ทะเลสาบ),
kedai(ร้าน) , muzium(พิพิธภัณฑ์) ,dan
lain-lain(และอื่นๆ).
หลักสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้คำสามัญนามเหล่านี้ก็คือ
จะต้องเขียนด้วยกับอักษรพิมพ์ใหญ่เมื่ออยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นประโยคเท่านั้น
แต่ถ้าอยู่ในประโยคเราจะเขียนด้วยกับอักษรพิมพ์เล็กเท่านั้น เช่น Adik suka
membaca buku kartun. (น้องชอบอ่านหนังสือการ์ตูน) Ayah
memberi wang kepada adik. (คุณพ่อให้เงินแก่น้อง)
สังเกตดูนะครับว่าคำว่า adik (น้อง)ในประโยคแรกจะเขียนด้วยกับอักษรพิมพ์ใหญ่
ในขณะที่ในประโยคที่สอง เราจะใช้อักษรพิมพ์เล็ก
ครับ
ไม่ยากเลยนะครับ แล้วกลับมาพบกันใหม่คราวหน้าครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น