หลักภาษามลายู ( 5/2 )
ถ้าเพื่อนๆสมาชิกยังจำได้ในคราวที่แล้วเราได้พูดเกี่ยวกับประโยคคำถามและคำปุจฉาสรรพนามหลักๆในภาษามลายูไปแล้วจำนวนหนึ่ง พอจะให้ความหมายของคำว่า apa , siapa , bila , mana, bagaimana, berapa ,และ
kah/adakah กันได้ไหมครับ คิดว่าคงจะจำได้ไม่ยากนะครับ
เจอกันคราวนี้เรามาพูดกันต่อเกี่ยวกับคำปุจฉาสรรพนามอีกสักเล็กน้อยนะครับ
มีอยู่คำหนึ่งที่ในครั้งที่แล้วเราไม่ได้ยกตัวอย่างกัน
คำนั้นก็คือคำว่า kah/adakah ? สองคำนี้มีความหมายเหมือนกันแปลว่า
ไหม/หรือเปล่า/ใช่เปล่า แต่ใช้ต่างกันเล็กน้อย ถ้าเป็นภาษาเขียน เราจะใช้คำว่า adakah
และให้วางไว้หน้าประโยค เช่น Adakah anda orang Malaysia? (คุณเป็นคนมาเลเซียใช่ไหม)
Adakah dia seorang pelajar
Universiti Ramkhamheang ? (เขาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงใช่ไหม) Adakah itu buku Bahasa Malaysia kamu? (นี่หนังสือภาษามลายูของเธอหรือเปล่า) เป็นต้น
แต่ถ้าหากว่าเราใช้โครงสร้างประโยคคำถามแบบภาษาพูด เราก็จะใช้คำว่า kah และให้วางไว้ท้ายประโยค (ป.ล จะไม่ใช้ adakah
หรือ ada . วางไว้ท้ายคำในประโยคคำถาม
เนื่องจากคำว่า ada ในกรณีทั่วไปจะมีความหมายว่า มี/อยู่ )
เช่น Anda orang Malaysiakah? (คุณเป็นคนมาลเซียใช่ไหม) Encik Attakorn
seorang gurukah? (คุณอัตถากรเป็นครูใช่ไหม) Ini kasut kamukah? (นี่รองเท้าของคุณหรือเปล่า)
คำว่า berapa ที่แปลว่า เท่าไร /กี่
ก็เป็นคำปุจฉาสรรพนามอีกตัวหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญเล็กน้อยเพราะคำๆนี้สามารถนำไปใช้คู่กับคำอื่นๆเพื่อสร้างคำปุจฉาสรรพนามใหม่ๆขึ้นมา
เช่น berapa lama (นานแค่ไหน) , berapa tahun(กี่ปี) , berapa minggu(กี่สัปดาห์) , berapa hari (กี่วัน) , berapa jam (กี่ชั่วโมง),
berapa orang(กี่คน)
, berapa batang (กี่แท่ง), berapa pinggan (กี่จาน), และอื่นๆครับ
เช่น Pelajar di dalam kelas ini ada berapa orang ? (นักเรียนในห้องนี้มีกี่คน
) Berapa orangkah pelajar di dalam kelas ini? (กี่คนหรือนักเรียนในห้องนี้)
หลักการใช้ก็เหมือนเดิมให้ย้อนกลับไปดูที่บทความตอนที่ 5/1
คำปุจฉาสรรพนามอีกหนึ่งคำที่ควรก็คือคำว่า boleh ? bolehkah? คำนี้แปลว่าได้ไหม /ได้หรือเปล่า ถ้าเราจะตั้งคำถามเป็นภาษาเขียน
เราจะใช้คำว่า bolehkah หรือ อีกคำหนึ่งก็ adakah…..boleh….?
เช่น Bolehkah anda bercakap Bahasa Inggeris? Adakah anda
boleh bercakap Bahasa Inggeris ? (คุณสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ไหม)
แต่ถ้าเป็นภาษาพูด เราก็จะใช้คำ boleh ทั้งที่วางไว้หน้าหรือหลังประโยคก็ได้
Boleh anda tolong saya sedikit ? Anda tolong saya sedikit, boleh? (คุณช่วยฉันหน่อยได้ไหม)
คำปุจฉาสรรพนามอีกคำหนึ่งที่อยากให้ทุกคนได้รู้จักก็คือ Sudahkah ที่มีความหมายว่า แล้วหรือยัง คำนี้สามารถใช้คำว่า Adakah…sudah…..? มาแทนที่ก็ได้นะครับ
เช่น Sudahkah awak makan pagi? Adakah awak sudah makan pagi? (เธอกินข้าวเช้าแล้วหรือยัง) ซึ่งประโยคคำถามนี้สามารถถามว่า Awak
sudah makan pagikah? ในภาษาพูดเช่นกัน ครับ เอาหละครับ
เดี๋ยวเรามาเรียนรู้ประโยคคำถามจากคำปุจฉาสรรพนามเหล่านี้เพิ่มกันอีกหน่อยก็แล้วกันนะครับ
· Adakah dia abang awak?
· (เขาเป็นพี่ชายของเธอใช่ไหม)
· Adakah kakak kamu tinggal di kampung ini?
· (พี่สาวของเธออาศัยอยู่ที่หมู่บ้านนี้ใช่ไหม)
· Adakah kawan kamu datang dari Malaysia?
· (เพื่อนเธอมาจากมาเลเซียหรือเปล่า)
· Adakah mereka tahu Bahasa Arab?
· (พวกเขารู้ภาษาอาหรับหรือเปล่า)
· Bolehkah anda membaca surat khabar Bahasa Cina?
· (คุณอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาจีนได้ไหม)
· Bolehkah saya masuk ke dalam?
· (ฉันเข้าไปข้างในได้ไหม)
· Bolehkah dia menggunakan pen ini?
· (เขาใช้ปากกานี้ได้ไหม)
· Bolehkah kami duduk di sini?
· (พวกเรานั่งที่นี่ได้ไหม)
· Adakah dia sudah berkahwin?
· (เขาแต่งงานแล้วหรือยัง)
· Adakah anda sudah makan
tengah hari?
· (คุณทานอาหารเที่ยงแล้วหรือยัง)
· Sudahkah adik mandi?
· (น้องอาบน้ำแล้วหรือยัง)
· Sudahkah ayah kamu balik
dari kerja?
· (พ่อเธอกลับจากงานแล้วหรือยัง)
· Sudahkah anda mengulangkaji pelajaran?
· (คุณทบทวนบทเรียนแล้วหรือยัง)
เพื่อนๆลองเปลี่ยนประโยคคำถามที่เป็นภาษาเขียนเหล่านี้ให้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งได้ไหมครับ แล้วกลับมาพบกันใหม่คราวหน้าครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น