หลักภาษามลายู ( 6
)
เพื่อนๆสมาชิกที่ติดตามโพสต์ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับหลักภาษามลายูคงสามารถแต่งประโยคคำถามเป็นภาษามลายูได้แล้วนะครับ
วันนี้เราจะทำความรู้จักเกี่ยวกับประโยคอีกรูปแบบหนึ่ง
นั่นก็คือประโยคบอกเล่าหรือที่เรียกเป็นภาษามลายูว่า ayat penyata
ในภาษามลายูประโยคจะเป็นประโยคได้ต้องประกอบด้วยส่วนสองส่วน
คือ ภาคประธานและภาคแสดง
แล้วภาคประธานคืออะไร? ภาคแสดงคืออะไร?
ภาคประธานคือ ส่วนที่เป็นผู้กระทำ เพื่อให้ทราบว่า
ใคร หรืออะไร ที่จะแสดงอาการในประโยคนั้นๆ อาจมีส่วนขยายหรือไม่มีก็ได้ เช่น
ฝนตก ลมพัด รถติดมาก
นักเรียนเข้าแถว ฉันกินข้าว
เป็นต้น
ภาคแสดง เป็นส่วนที่บอกอาการ หรือบอกสภาพของประธาน ว่าทำกริยาอะไรหรือเป็นอย่างไร เช่น นักเรียนอ่านหนังสือในห้องสมุด ฉันไปโรงเรียน แมวกัดหนู ภาษามลายูง่าย เป็นต้น
ภาคแสดง เป็นส่วนที่บอกอาการ หรือบอกสภาพของประธาน ว่าทำกริยาอะไรหรือเป็นอย่างไร เช่น นักเรียนอ่านหนังสือในห้องสมุด ฉันไปโรงเรียน แมวกัดหนู ภาษามลายูง่าย เป็นต้น
ประโยคบอกเล่าในภาษามลายูจะมีรูปพื้นฐานอยู่สี่รูปด้วยกันคือ
ภาคประธาน ภาคแสดง
1.
นาม/นามวลี
นาม/นามวลี
Saya guru.
ฉัน (เป็น)ครู
Budak itu orang Melayu.
เด็ก(คน)นั้น (เป็น)คนมลายู
2.
นาม/นามวลี กริยา/กริยาวลี
Somsak tidur.
สมศักดิ์ นอน
Pelajar sekolah itu membaca buku tatabahasa.
นักเรียน (คน)นั้น อ่านหนังสือหลักภาษา
3.
นาม/นามวลี คุณศัพท์/คุณศัพท์วลี
Mereka cerdik.
พวกเขา ฉลาด
Kawan saya rajin
belajar.
เพื่อน(ของ)ฉัน ขยันเรียน
4.
นาม/นามวลี บุพบทวลี
Dia di
dalam bilik itu.
เขา (อยู่)ที่ในห้องนั้น
Surat itu untuk saya.
จดหมายนั้น สำหรับฉัน
คำชี้แจง
1.
ถ้าเพื่อนๆสังเกตประโยคตัวอย่างที่หนึ่งและที่สองให้ดีๆ
จะพบในภาษามลายูเราจะไม่ต้องใช้คำว่า เป็น สำหรับเชื่อมประโยคเลยนะครับ
ทั้งนี้ก็เพราะว่าการวางคำเช่นนี้จะทำให้มีความหมายว่า เป็น ขึ้นมาเองในภาษามลายู
2.
และคำว่า ของ ก็เช่นกันในภาษามลายู เราไม่จำเป็นต้องใช้นะครับ
เราเพียงแค่เอาคำนามสองตัวมาวางคู่กัน เราก็ได้ความหมาย ของ เกิดขึ้นมา เช่น rumah (บ้าน) saya (ฉัน) =
Rumah saya บ้านของฉัน
3.
และอีกคำหนึ่งที่สามารถละได้ก็คือคำว่า อยู่
อย่างในกรณีของประโยครูปที่สี่ แต่ถามว่าแล้วในภาษามลายู ไม่มีคำว่า อยู่ หรือ?
คำตอบก็คือ มี โดยคำว่าอยู่ ก็คือ คำว่า berada / ada เช่น Buku tatabahasa saya berada di atas meja itu. (หนังสือหลักภาษาของฉันอยู่ที่บนโต๊ะนั้น)
4.
คำลักษณะนามถ้าหากไม่แสดงถึงจำนวน
ในภาษามลายูเราก็จะไม่ระบุคำลักษณะนามนั้น ซึ่งต่างจากภาษาไทยที่ต้องใส่ เช่น
เด็ก(คน)นั้น เวลาเราพูดเป็นภาษามลายู เราเพียงแค่พูดว่า budak itu ไม่ต้องใส่คำว่า orang นะครับ
ครับเพียงแค่นี้เราก็สามารถสร้างประโยคบอกเล่าพื้นฐานในภาษามลายูได้แล้ว
แต่เดี๋ยวก่อน ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่เราควรรู้เช่นกันครับ
นั่นก็คือรูปประโยคที่เรียงภาคประธานตามด้วยภาคแสดงนี้ในบางครั้งก็สามารถนำมาวางสลับตำแหน่งกันนะครับ
โดยเริ่มต้นประโยคด้วยกับภาคแสดงแล้วตามด้วยภาคประธานซึ่งถ้าทำเช่นนั้น
ประโยคที่ได้จะเรียกว่า ayat songsang หรือประโยคกลับตาลปัตร
นั้นเอง เช่น Cantiknya rumah ini! (สวยจังบ้านหลังนี้)
ถ้ามีอะไรสงสัยก็สามารถสอบถามได้นะครับ
แต่ถ้าเพื่อนสมาชิกคนใดต้องการความรู้แบบรวดเร็ว
ให้เห็นภาพรูปทั้งหมดของหลักภาษามลายูพื้นฐานก็สามารถสั่งซื้อหนังสือหลักภาษามลายูพื้นฐานของผมได้นะครับ
(5555 ขออภัยที่โฆษณาหนังสือของตัวเอง)
แล้วกลับมาพบกันใหม่ครับ Jumpa lagi
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น